โซล่าชาร์จคอนโทรลเลอ ระบบไมโครโปรเซสเซอร์ 12V/10A -C124-10STT ทำเสาไฟฟ้าปิดเปิดอัตโนมัติได้
กดเพื่อขยายขนาด |
|
ตัวควบคุมการชาร์จแผงโซล่าเซลล์ หรือโซล่าชาร์เจอร์ 10A/12V (Solar charge controller Controller) สำหรับการนำไปใช้งาน
เป็นระบบไมโครโปรเซสเซอร์ ควบคุมการทำงานด้วยซีพียูคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
ทำหน้าที่ควบคุมการชาร์จโซล่าเซล ทำงานด้วยระบบ PWM (Pulse Width Mod)
ป้องกันและรักษาการทำงานของแบตเตอรี่ แสดงสถานะการทำงานของแผงโซล่า
เซล สถานะของแบตเตอรี่ ไฟแบตฯ เต็ม ไฟน้อยหรือไฟแบตเตอรี่ใกล้หมด
และตัดไฟอัตโนมัติในกรณีไฟหมดเพื่อป้องกันแบตเตอรี่เสียหาย หรือใช้ไฟเกินกำลัง
(over charge/over discharge protection)
(Option) มีระบบปิดเปิดไฟอัตโนมัติเมื่อแสงมืด และสามารถตั้งเวลาให้ปิดไฟอัต
โนมัติได้ตามที่ต้องการ สำหรับกรณีใช้เป็นเสาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ปิดเปิด
ไฟอัตโนมัติ
กำลังไฟฟ้าสูงสุด : 120 W
กระแสไฟฟ้าสูงสุด : 10A
แรงดันไฟฟ้า : 12VDC
แผงโซล่าเซล : 120W
ระบบแสดงผล : LED และ LED 7 Segment
ระบบชดเชยอุณหภูมิ : Temperature Sensor
จุดต่อสายขนาดใหญ่ และมีระยะห่างกว่าทำให้สะดวก
Identifying voltage automatically
Temperature correction
LED indication for each system work condition
PWM Pulse Duration Modulation Control
Action of street light at night
Boost, recovery and float charging for battery long life
ศักยภาพการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย
พลังงานแสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์เฉลี่ยที่ได้รับในประเทศไทย
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีโดยที่ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์จะมีค่าแปรเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 150 ‘ 10 ยกกำลัง 6 km (+17%)พลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับนอกบรรยากาศโลกที่ระยะห่างดังกล่าวมีค่าสูงสุดประมาณ 1400W / mยกกำลัง 2 ในช่วงเดือนมิถุนายนและเดืนกรกฎาคม ดังนั้นพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยที่โลกได้รับจะมีค่าประมาณ 1353 W /m สำหรับประเทสไทยอัตราการตกกระทบของพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยต่อวัน ซึ่งได้รับตามภาคต่างๆ ในประเทศมีค่า
ตัวแปรที่มีผลต่อคุณสมบัติทางไฟฟ้าของโซล่าเซลล์หรือเซลล์แสงอาทิตย์
ตัวแปรสำคัญที่มีผลทำให้เซลล์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ความเข้มรังสีอาทิตย์
กระแสไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มรังสีอาทิตย์ กล่าวคือเมื่อความเข้มรังสีอาทิตย์สูง ก็จะทำให้กระแสไฟที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์มีค่าสูงขึ้นด้วย ขณะที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าจะแปรตามความเข้มรังสีอาทิตย์น้อยมาก ความเข้มรังสีอาทิตย์ที่ใช้เป็นมาตราฐานคือการวัดที่พื้นผิวโลก ในสภาพอากาศปลอดโปร่งไม่มีเมฆหมอก และวัดที่ระดับน้ำทะเลในสภาพที่รังสีอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลก ซึ่งความเข็มรังสีอาทิตย์จะมีค่าประมาณ 1000 w/m2 หรือมีค่าอากาศมวล(Air Mass) เท่ากับ 1.5
อุณหภูมิ
กระแสไฟฟ้าจะไม่แปรตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป แต่แรงเคลื่อนไฟฟ้าจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โดยทั่วไปแล้วอุณหภูมิที่สูงที่สูงขึ้นทุกๆ 1 องศา จะทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าลดลง 0.5 ๔%กรณีแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาตรฐาน ที่กำหนดประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ จะกำหนดว่าที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จะทำให้แผงเซลล์มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่วงจรเปิด (Open Circuit) 21 Vที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสหมายความว่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่จะได้จากแผงเซลล์ เมื่อยังไม่ได้ต่อวงจรกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จะมีค่าเท่ากับ 21 v แต่ถ้าหากว่าอุณหภูมิเปลี่ยนไปเป็น 30 องศาเซลเซียส จะทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าของแผงเซลล์ลดลง 2.5 % หรืออาจกล่าวอีกนัยก็คือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่วงจรเปิดจะมีค่าลดลงเท่ากับ 21 v % 2.5 % = 0.252 v
จากข้อกำหนดดังกล่าวก่อนการเลือกใช้แผงเซลล์ จะต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของแผงเซลล์ที่ระบุไว้ในแผงแต่ละชนิดด้วยว่าใช้มาตรฐานอะไร อาทิ แผงเซลล์ชนิดหนึ่งระบุว่าให้กำลังงานได้ 80 W ที่มีความเข้มรังสีอาทิตย์ 1100 W/m2 ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส อีกชนิดหนึ่งระบุกำลังงานที่ได้ 75 W ที่ความเข้มรัวสีอาทิตย์ 1000 W/m2 ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งมีมาตรฐานการกำหนดที่แตกต่างกันแผงเซลล์ที่ให้กำลังได้ 80 W ใช้ว่าจะใหกำลังงานมากกว่าแผงเซลล์ 75 W เนื่องจากว่า หากพิจารณาที่สภาวะมาตรฐานที่ 1000 W/m2 ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เมื่อเราคำนวณแล้วจะพบว่าแผงเซลล์ที่ระบุกำลังไฟฟ้า 80 W จะให้กำลังงานที่ต่ำกว่า
ความคิดเห็น: คำแนะนำ: HTML จะไม่ถูกแปลง!
ความนิยม: แย่ ดี
ป้อนรหัสในกล่องข้างล่างนี้: